top of page

7. วิทยาการคำนวณ ม.5 : การทำความสะอาดข้อมูลและการแปลข้อมูล

ให้นักเรียนจับกลุ่มกัน กลุ่มละ 4 คน และศึกษาการทำกิจกรรมตามคลิปวิดีโอจาก สสวท. ทั้ง 3 คลิป ต่อไปนี้

สรุปขั้นตอนคลิปที่ 1
1.เลือกเขตข้อมูลที่ต้องการแสดงผล – มุมมอง – ย่อ/ขยายส่วนที่เลือก
2.ทดลองจัดเรียงข้อมูลในแบบต่าง ๆ จะไม่สามารถเรียงได้เพราะข้อมูลมีการผสานเซลล์อยู่
3.หากเลือกเฉพาะข้อมูลบางส่วนมาจัดเรียงก็ยังมีปัญหาเรียงข้อมูลไม่ถูกต้อง
4.ทำการยกเลิกการกระทำทั้งหมดกลับไปเหมือนตอนเปิดไฟล์ครั้งแรกก่อนเพื่อทำความสะอาดข้อมูลตามคลิปที่ 2 ต่อไป

สรุปขั้นตอนคลิปที่ 2
1.สำรองข้อมูลเดิมไว้ก่อน โดยการคัดลอก Sheet (คลิกที่ Report1 – กด Ctrl ค้างไว้ – ลากเมาส์ไปด้านข้าง Report1 – เปลี่ยนชื่อเป็น data) ขณะนี้จะมี 2 Sheet
2.เพิ่มคอลัมน์ด้านซ้าย (คลิกขวาคอลัมน์ A – แทรก)
3.คลิกแถวที่ 4 – 5 ยกเลิกการผสานและจัดกึ่งกลาง
4.คอลัมน์ A แถวที่ 4 พิมพ์ region (หรือชื่ออื่นตามนักเรียนต้องการ)
5.คอลัมน์ A เติมมิติให้ข้อมูลโดยการเติม ภาค ให้แต่ละจังหวัด (มีการคัดลอกหลายวิธีตามที่แต่ละคนถนัด) ทำให้ครบทุกจังหวัด

หมายเลขแถวอาจจะไม่ตรงกันให้ใช้วิจารณญาณ

6.แทรกแถวด้านบน (คลิกแถวที่ 3 ถึง 13 – คลิกขวา – แทรก) จะได้แถวว่าง ๆ แทรกขึ้นมา
7.คัดลอกแถวที่ 15 ถึง 19 (region – ตอนพิเศษ) ไปวางที่แถว 4
8.ย้ายข้อมูลแถวที่เป็นข้อมูลรวมทั้งภาค ไปไว้ด้านบนทั้งหมด (Ctrl+X – แถว 24 ย้ายไป 9, 47 ย้ายไป 10, 65 ย้ายไป 11, 86 ย้ายไป 12)
9.ลบแถวว่างส่วนหัวและแถวที่ไม่ได้ใช้ (แถว 5 ว่าง แถว 6 ปี คศ.)
10.ลบแถวว่างส่วนหัวและแถวที่ไม่ได้ใช้ (แถว 14 – 17)
11.ลบแถวว่างที่เกิดจากการย้ายข้อมูลในข้อ 8
12.ย้ายคอลัมน์ N มาไว้ระหว่างคอลัมน์ C และ D (คลิกหัวคอลัมน์ N – กด Shift ค้างไว้ – เลื่อนเมาส์มาระหว่างช่อง M กับ N ตัวชี้เมาส์จะกลายเป็นลูกศร 4 ทิศ – คลิกค้างไว้แล้วลากไปวางระหว่างคอลัมน์ C และ D)
ให้นักเรียนบันทึกงานเป็นระยะด้วยครับ
13.ทดลองจัดเรียงข้อมูลโดยการเลือกเขตข้อมูลที่ต้องการ (ตัวอย่างไฟล์ครูธวัช เลือกช่อง A13 – Shift – N90) ข้อมูล – เรียงลำดับ – คลิกในช่อง “ข้อมูลของฉันมีส่วนหัว” – คอลัมน์ 2558 – ค่าเซลล์ – มากที่สุดไปหาน้อยที่สุด – ก็จะได้ข้อมูลมากที่สุดไปน้อยที่สุดของปี 2558
14. นักเรียนลองจัดเรียงข้อมูลตามที่ต้องการดูนะ

สรุปขั้นตอนคลิปที่ 3
1.มาทำความสะอาดข้อมูลกันต่อ เนื่องจากข้อมูลมีช่องว่างอยู่หน้าทำให้อาจจะเกิดการประมวลผลผิดพลาดได้
2.ลบคอลัมน์ C (เป็นเซลล์ว่าง)
3.เลือกเซลล์ที่อยู่ต่อจากข้อมูลแรกของปี 2558 (ไฟล์ครูธวัชคือช่อง N14) – พิมพ์สูตร =trim( – คลิกที่ช่องที่เราต้องการตัดช่องว่าง (A14) และกด Enter
4.คัดลอกสูตรไปยังบรรทัดสุดท้ายของข้อมูลตามวิธีที่ถนัด (อาจจะใช้วิธีเลือกเซลล์ N14 เลื่อนเมาส์ไปมุมขวาล่างของเซลล์ให้เป็นเครื่องหมายบวก และ ดับเบิ้ลคลิก จะเป็นการคัดลอกสูตรไปทุกแถว จะได้ไม่ต้องลากเมาส์ลงไปทุกแถว)
5.กด Shift – เลื่อนลูกศรแป้นพิมพ์ไปทางขวา 2 ครั้ง – Ctrl+R (คือการคัดลอกสูตรและทำข้อ 2-3 แบบวิธีลัดนั่นเอง)
6.คัดลอกข้อมูลที่ได้จัดระเบียบแล้วตามข้อ 1 – 4 ไปวางทับข้อมูลเดิม (วางแบบวางค่าเท่านั้น)

image (1).png

7. ลบคอลัมน์ N, O, P ออกไป เนื่องจากไม่ได้ใช้ข้อมูลส่วนนี้แล้ว
8. ข้อมูลที่ได้ยังคงมีช่องว่างหน้าข้อมูลอยู่ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดรูปแบบของโปรแกรม Excel มีวิธีแก้ไขคือลากคลุมทุกเซลล์ที่จะทำการจัดรูปแบบ (ไฟล์ครูธวัช ลากคลุมตั้งแต่ A14 – C90)
9. คลิกขวาบนเซลล์ที่เลือก – จัดรูปแบบ – ทั่วไป – ตกลง
10. ตอนนี้ข้อมูลพร้อมแล้วสำหรับการประมวลผลต่าง ๆ ตามที่เราต้องการ
11. คลิกที่เซลล์ใดเซลล์หนึ่ง – ข้อมูล – ตัวกรอง – จะมีสัญลักษณ์ขึ้นมาดังภาพ

image-1-1024x256.png

ข้อมูลที่นักเรียนได้ทำความสะอาดแล้ว สามารถให้ข้อมูลเหล่านี้ได้หรือไม่
– ปี 2558 จังหวัดใดบ้างที่มีรายได้มากกว่า 30,000 บาท
– ปี 2558 ภาคเหนือมีจังหวัดอะไรบ้างที่มีรายได้น้อยกว่า 20,000 บาท
– นักเรียนจะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง
ฯลฯ (ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างผลลัพธ์ที่ได้จากการกรองข้อมูล)

00000.png
0101.png

แนวตอบ – ปี 2558 ภาคเหนือมีจังหวัดอะไรบ้างที่มีรายได้น้อยกว่า 20,000 บาท

เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมตามคลิปวีดีโอครบทั้ง 3 คลิปแล้ว ให้บันทึกเป็น ไฟล์ในชื่อนักเรียน และให้ ส่งไฟล์ในลิงค์ด้านล่าง

bottom of page