top of page

Computer network

system

บทที่ 1

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

นางสาว ชลธิชา วิชัย

ครูที่ปรึกษา ครู ธวัชชัย พุ่มทองดี

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Communication subnet

เครือข่ายย่อยส่วนของการสื่อสาร

    เครือข่ายย่อยส่วนของการสื่อสาร ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้คือ

1. โหนดของเครือข่าย (Network Node)

    โหนดของเครือข่าย ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสานกับเครือข่ายย่อยส่วนของผู้ใช้ เพื่อให้การส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

2. สื่อกลางในการส่งข้อมูล (Medium)

    สื่อกลางในการส่งข้อมูล ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ ดาวเทียม

3. ตัวแปลงสัญญาณ (Signal Converter)

ตัวแปลงสัญญาณ ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลให้เป็นสัญญาณที่เหมาะสมเพิ่อให้สามารถส่งผ่านสื่อกลางไปได้ ตัวอย่างเช่น โมเด็ม

Thawach111.png

Communication subnet

เครือข่ายย่อยส่วนของการสื่อสาร

    เครือข่ายย่อยส่วนของการสื่อสาร ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้คือ

1. โหนดของเครือข่าย (Network Node)

    โหนดของเครือข่าย ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสานกับเครือข่ายย่อยส่วนของผู้ใช้ เพื่อให้การส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

2. สื่อกลางในการส่งข้อมูล (Medium)

    สื่อกลางในการส่งข้อมูล ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ ดาวเทียม

3. ตัวแปลงสัญญาณ (Signal Converter)

ตัวแปลงสัญญาณ ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลให้เป็นสัญญาณที่เหมาะสมเพิ่อให้สามารถส่งผ่านสื่อกลางไปได้ ตัวอย่างเช่น โมเด็ม

1.4 องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  1. เครือข่ายย่อยส่วนของผู้ใช้ (User Subnet work)

  2. เครือข่ายย่อยส่วนของการสื่อสาร (Communication Subnet work)

ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์ที่เป็นอิสระต่อกันตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันด้วยสื่อกลางประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันได้ทั้งในระยะใกล้และระยะไกล

ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  1. สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน

  2. เพื่อเพิ่มความเชื่อถือและประสิทธิภาพของการประมวลผล

  3. ประหยัดงบประมาณ

  4. การขยายระบบคอมพิวเตอร์ทำได้ง่าย

  5. ทำให้มีการประมวลผลแบบกระจาย

  6. ทำให้อุปกรณ์ที่มีความแตกต่างกัน สามารถทำงานร่วมกันได้

องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์    แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

เครือข่ายย่อยส่วนของผู้ใช้ (User Subnet work)

  • โฮสต์คอมพิวเตอร์ (Host Computer)

  • เทอร์มินัล (Termiinal)

  • ตัวควบคุมเทอร์มินัล (Termiinal  Controller)

เครือข่ายย่อยส่วนของการสื่อสาร (Communication Subnet work)

  • โหนดของเครือข่าย (Network Node)

  • สื่อกลางในการส่งข้อมูล (Medium)

  •  ตัวแปลงสัญญาณ (Signal Converter

ส่วนประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบพื้นฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์  มีดังนี้ คือ

  1. เครื่องคอมพิวเตอร์

  2. แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card:NIC)

  3. สื่อกลางในการส่งข้อมูลและอุปกรณ์ต่างๆ

  4. โพรโตคอล (Protocol)

  5. ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System:NOS)

networking.jpg
Team Work.jpg

พื้นฐานความรู้ที่ควรมี   (Prerequisite Knowledge)​

  1. ความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์

  2. ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล

บทนำ

1.1 บทนำ

          ปัจจุบันนี้การพัฒนาเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร ทำให้การประมวลผลข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล มีลักษณะผสมผสานกันไป เพื่อความสะดวกและความรวดเร็วในการทำงาน รวมทั้งสื่อกลางในการส่งข้อมูลต่างๆ ก็ได้รับการพัฒนาให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรองรับเทคโนโลยีด้านอื่นๆอีกด้วย

          จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้เกิดการพัฒนาการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยการนำเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์รวมกับเทคโนโลยีทางด้านสื่อสาร มาผสมผสานการใช้งานในลักษณะที่เรียกว่า ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Comquter Network System)

บทนำ

1.2 ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

        ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์ที่เป็นอิสระต่อกันตั้งแต่สองเครืองขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันด้วยสื่อกลางประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันได้ทั้งในระยะใกล้และระยะไกล

1.3 ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

          1. สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน ตัวอย่างเช่น การใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และฐานข้อมูลร่วมกัน

          2. เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของการประมวลผล ตัวอย่างเช่น ถ้าข้อมูลจากที่หนึ่งเกิดเสียหาย สามารถเรียกใช้ข้อมูลจากอีกที่หนึ่งได้โดยผ่านเครือข่าย หรือถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเกิดขัดข้อง สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่ายแทนได้

bottom of page